เมนู

อรรถกถาตติยวินัยธรสูตรที่ 3


ตติยวินยธรสูตรที่ 3

(ข้อ 74) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วินเย โข ปน ฐิโต โหติ ความว่า ตั้งอยู่แล้วในลักษณะ
แห่งวินัย. บทว่า อสํหิโส ความว่า ไม่อาจจะให้สละความยึดมั่น
สิ่งที่ยึดไว้แล้ว
จบ อรรถกถาตติยวินัยธรสูตรที่ 3

อรรถกถาสัตถุสาสนสูตรที่ 9


สัตถุสาสนสูตรที่ 9

(ข้อ 80) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เอโก ได้แก่ ไม่มีเพื่อนสอง. บทว่า วูปกฏฺโฐ ความว่า
หลีกออกไปแล้ว คือ สงัดแล้ว อยู่ไกลแล้ว ทางกายก็จากคณะ
ทางจิตก็จากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ตั้งอยู่แล้ว
ในความไม่อยู่ปราศสติ. บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีตนส่งไปแล้ว.
บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่ ความระอาในวัฏฏะ.
บทว่า วิราคาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกิเลสมีราคะ
เป็นต้น. บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่อันกระทำไม่ให้
เป็นไปได้. บทว่า วปสมาย ได้แก่เพื่อความระงับกิเลส เพื่อเป็น

ไม่ได้แห่งกิเลส. บทว่า อภิญฺญาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่
ความรู้ยิ่ง การยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์. บทว่า สมฺโพธาย ความว่า
เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ธรรมกล่าวคือ มรรค. บทว่า นิพฺพาทาย
ความว่า เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.
จบอรรถกถาสัตถุสาสนสูตรที่ 9

อรรถกถาอธิการณสมถสูตรที่ 10


อธิกรณสมถสูตรที่ 10

(ข้อ 81) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ธรรมชื่อว่า อธิกรณสนถะ เพราะอรรถว่า ระงับคือ ยัง
อธิกรณ์ให้เข้าไปสงบระงับ. บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺนานํ แปลว่า
เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเล่า. บทว่า อธิกรณานํ ความว่า อธิกรณ์ 4 นี้
คือ วิวาทาธิกรณ์ 1 อนุวาทาธิกรณ์ 1 กิจจาธิกรณ์ 1 อาปัตตา-
ธิกรณ์ 1. บทว่า สมถาย วูปสมาย ความว่า เพื่อสงบ และเพื่อ
เข้าไประงับ. พึงใช้สมถะ 7 เหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย 1 สติวินัย 1
อมุฬหวินัย 1 ปฏิญญาตกรณะ 1 เยภุยเยนสิกา 1 ตัสสปาปิยสิกา 1
ติณวัตถารกวินัย 1.
นัยในการวินิจฉัยสมถะเหล่านั้น พึงถือเอาจากอรรถกถา
พระวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ในอรรถกถาแห่งสังตีติสูตรในทีฆนิกาย
ก็ได้กล่าวไว้พิสดารแล้วนั้นแล. ในอรรถกถาสามคามสูตร ใน
มัชฌิมนิกาย ก็ได้กล่าวไว้แล้วเหมือนกันแล.
จบ อรรถกถาอธิกรณสมถสูตรที่ 10
จบ วินัยธรวรรคที่ 8